rss

การตั้งกรอบเป้าหมาย (การคิดเชิงกลยุทธ์)

Framing Skill หรือ การตั้งกรอบเป้าหมาย

มุมมองของสิ่งหนึ่งเดียวกัน หากมองคนละมุม ก็จะให้ความหมายแตกต่างกันได้ เช่น รูปโมนาลิซ่า มองมุมหนึ่งเหมือนคนเศร้า, ?แต่พอมองอีกมุมหนึ่งก็เหมือนกับคนกำลังยิ้ม ?ซึ่งการแก้ปัญหานั้น การตีความหมายหรือกรอบปัญหาสำคัญมาก เพราะหากตีความผิดแต่แรก การทำขั้นตอนใดๆต่อไป แมัจะทำอย่างดีและละเอียดเพียงใด ก็จะผิดตามไปหมด เพราะเราตั้งธงไว้ผิด

การพิจารณามีแนวทางคือ (ฝึกคิดแบบนี้บ่อยๆจะ่ช่วยได้ดีมาก)

1.ควรมองปัญหาจากมุมไหน : เป็นจุดเริ่มต้นของการวางกรอบปัญหา

2.ขอบเขตของปัญหากว้างแค่ไหน: เพื่อกำหนดแนวทางให้จำักัด

3.ควรมองให้ลึกและระเอียดขั้นใด : เพื่อลงสู่รายละเอียดของปัญหา บางทีน้อยไปอาจไม่ดี มากไปก็อาจเีสียเวลา

4.เงื่อนไขและข้อจำกัดต่างๆในการแก้ปัญหา เช่นเงินทุน, ระยะเวลา เป็นต้น

แนวทางของข้อมูลในการคิด

1.หาข้อมูลเชิงลึกระดับพอใช้ได้ การรวบรวมข้อมูลแม้มากมายเพียงใด แต่หากเป็นข้อมูลเป็นแบบค่าเฉลี่ยหรือทั่วๆไป อาจเป็นข้อมูลไม่มีประโยชน์ เพราะไม่รู้ถึงปัญหาและจุดตายที่ต้องรู้ก็ได้ ทำให้มองไม่เห็นข้อเท็จจริงบางอย่าง หรือแก่นแท้ของปัญหา เช่น มองว่าหน่วยงานนี้ประเมินผลได้ C แทบทุกปี ที่จริงหากไม่เก็บข้อมูลละเอียดอาจคิดแค่ว่า หน่วยงานนี้ทำงานไม่ดี แต่หากรู้ลึกเข้าไปจะพบว่า หน่วยงานนี้ถูกบีบให้ยุบหน่วยงาน เป็นต้น

2.การเปลี่ยนมุมมอง เป็นมองอีกด้านหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น การมองภาพปริศนาตามอินเตอร์เน็ท มองมุมนึงเป็นภาพปลาวาฬ มองมุมหนึ่งเป็นภาพหญิงสาว วิธีการนี้เปลี่ยนมุมมองออกไปก็จะได้แนวคิดใหม่ๆเพิ่มเข้ามา หรือฝึกมองแบบกบนอกกระลา, มองแบบสุดขั้ว, แหวกแนว อาจได้แนวคิดใหม่ๆก็ได้, หรือที่ที่น่ากลัวก็อาจเป็นที่คนอยากลุ้นลองก็มีเหมือนกัน

3.ข้อมูลที่ได้มามีเงื่อนงำ เชื่อถือได้หรือไม่ หรือว่าถูกเฉไฉให้เข้าใจผิดหรือไม่ การได้ข้อมูลมาแต่ข้อมูลถูกเฉไฉ (ไม่ได้หลอก,ไม่ได้โกหก, แต่พูดอีกมุม) ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลทางการเงินที่ส่งให้ตลาดหลักทรัยพ์, ข้อมูลที่รายงานแต่เพียงด้านเดียว, ข้อมูลที่บอกไม่หมด

เริ่มเรื่อง 5 P

Loading Facebook Comments ...